Rain making

Tuesday, June 28, 2016

// // Leave a Comment

wind200-SSW-1-10kt-12 มิ.ย. 2558

ลักษณะการเกิดและเคลื่อนตัวของเมฆฝนจากลมทิศตะวันตกเฉียงใต้ (SSE) -200




ทำการวิเคราะห์โดยใช้ตัวอย่างค่าสภาวะอากาศ ทิศทางและความเร็วลม ในวันที่
12 มิถุนายน 2558 เพื่อศึกษาลักษณะการเกิดและเคลื่อนตัวของเมฆฝนในกรณีที่มีลมเป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้ค่อนไปทางใต้ (ค่าทิศทางลมช่วง 190-210 องศา)
ตารางที่ 3 ผลตรวจอากาศชั้นบนและค่าดัชนีพยากรณ์อากาศวันที่ 12 มิถุนายน 2558

   ระดับ(ฟุต)
ความชื้นสัมพัทธ์
เฉลี่ย(%)
ลม(องศา/น๊อต)
ค่าดัชนีพยากรณ์
Index
ทิศทาง
ความเร็ว
1,000-5,000
72.0
240
06
การยกตัวระดับ(0-5,000 ฟุต) Li
0.1
5,000-10,000
52.8
185
10
การยกตัวระดับ(5,000-10,000) Si
1.0
10,000-15,000
44.8
163
07
โอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง Ki
28.1
15,000-20,000
40.0
181
3
โอกาสการทำฝนเมฆอุ่น Warm Cloud
Poor -18

ลักษณะอากาศระดับกว้างที่มีผลต่อการเกิดของเมฆ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคและภาคตะวันออกมีกำลังแรงขึ้น
สรุปสภาพอากาศชั้นบนที่มีผลต่อการเกิดของเมฆมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยค่อนข้างดีในช่วงระดับ 1,000-5,000 ฟุต มวลอากาศค่อนข้างทรงตัวถึงระดับ 10,000 ฟุต และมีโอกาสเกิดฝนฟ้าคะนองในบางพื้นที่ ทิศทางลมเฉลี่ยในระดับเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆเป็นลมทิศตะวันตกเฉียงใต้ค่อนไปทางใต้ (SSW) ความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 10 น๊อต

0 comments:

Post a Comment